ตะแกรงเหล็กฉีกคืออะไร ตะแกรงเหล็กฉีก ราคาตารางเมตรละเท่าไหร่ บทความนี้มีคำตอบ

Table of Contents

เหล็กฉีกที่เราเห็นเป็นรั้วตามสนามแบดมินตัน ใช้เป็นปูพื้นทางเดิน ใช้สำหรับทำตะแกรงกันนก คือเป็นส่วนหนึ่งของตะแกรงเหล็กฉีก ที่มีลักษณะเป็นรูตาข่ายรูปสี่เหลี่ยม หรือข้าวหลามตัดคล้ายรังผึ้ง เป็นเหล็กเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่นมีความแข็งแรง ยากที่จะขาดหรือหลุดออกจากกัน แล้วกับคำถามที่ว่าตะแกรงเหล็กฉีก ราคาตารางเมตรละ ตะแกรงเหล็กฉีกคืออะไร มีความหนาอย่างไร เราจะมาค้นคว้าหาคำตอบกัน

ตะแกรงเหล็กฉีกคืออะไร

เป็นแผ่นโลหะ เหล็กแผ่นที่นำมายืดออกเป็นตะแกรง หรือ นำมาทำให้เป็นรูโดยการยึด หรือ ฉีก โดยแต่ละมุมยังยึดติดกัน ทำให้มีความแข็งแรง รับแรงกดได้ดี น้ำหนักเบา มีลักษณะเป็นตาข่ายรูปสี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด หรือคล้ายกับรังผึ้ง นิยมนำมาใช้แต่งบ้าน ทำฉากกั้น ผนังห้อง พื้นทางเดิน รั้วกั้น ราวบันได ถือเป็นวัสดุสารพัดประโยชน์ที่นำไปใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของงานอุตสาหกรรม ส่วนประกอบการตกแต่งอาคาร

การผลิตเหล็กฉีกจะใช้การเจาะรู ตะแกรงเหล็กฉีกจึงมีลักษณะเป็นเหล็กเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่น มีความแข็งแรงยากที่จะขาดและหลุดออกจากกัน  ปัจจุบันมีลวดลายอื่นที่สวยงาม แต่ยังคงมีจุดเด่นที่ได้จากการฉีกคือ แผ่นตะแกรงมีความเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยต่อ มีความคงทนแข็งแรง ทนทานต่อการรับน้ำหนักและสภาพอากาศได้อย่างดี

ตะแกรงเหล็กฉีกคุณสมบัติ 

  • มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง ทนทาน ราคาถูก
  • ช่วยประหยัดเวลาในการก่อสร้าง สะดวกในการซ่อมแซม และทำความสะอาดง่าย
  • ระบายความร้อนได้ดี
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย

ตะแกรงเหล็กฉีกขนาดและความหนา

ตะแกรงเหล็กมีความหนาให้เลือกตั้งแต่ 1.2, 1.6, 2.3, 3.2, 4.5 จนถึง 6 มิลลิเมตร ซึ่งงานทั่วไปจะเลือกใช้ความหนาเพียง 1.2-3 มิลลิเมตร สำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนักสูง ควรเลือกใช้ความหนาตั้งแต่ 4.5 มิลลิเมตรขึ้นไป

วัสดุที่ใช้ในการทำตะแกรงเหล็กฉีก

วัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการทำตะแกรงเหล็กฉีกมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ เหล็ก, อลูมีเนียม และ สแตนเลส รวมถึงวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผลิตตะแกรงได้ซึ่งจะทำให้ได้เหล็กฉีกที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วย

1. ตะแกรงเหล็กฉีก 

เป็นตะแกรงที่มีความแข็งแรงและทนทานสูง ทนต่อการกดกระแทก โดยไม่ทำให้แผ่นตะแกรงหัก และมีความยืดหยุ่น สามารถนำไปบิดดัด หรือตัดได้ แต่ก็ขึ้นกับความหนาของแผ่นตะแกรงเหล็กฉีกด้วย ทั้งนี้สามารถจำแนกชนิดของเหล็กที่ใช้มี 2 ประเภทคือ

  • เหล็กดำ – แผ่นเหล็กที่นำมาฉีกได้โดยผ่านกระบวนการรีดร้อน Hot Roll Steel Sheet โดยมีคุณสมบัติหลักเรื่องของความเหนียว ยืดหยุ่นได้ดี เป็นวัสดุหลักใช้ทำตะแกรงเหล็กฉีก รุ่นที่มีช่องตาของตะแกรงค่อนข้างกว้าง ทำให้เหล็กดำมีความทนทานต่อการฉีกถ่างให้เกิดเป็นตาได้ ไม่เกิดความเสียหายระหว่างการผลิตและใช้งาน
  • เหล็กขาว – แผ่นเหล็กที่สามารถรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ได้ ด้วยกระบวนการรีดเย็น Cold Roll Carbon Steel Sheet นิยมนำมาทำตะแกรงเหล็กฉีกที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่าตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นมาตรฐาน มีความหนาเพียง 0.6 มิลลิเมตร และช่องตาที่ขนาดไม่กว้างมากนัก เหล็กขาวมีราคาต่ำกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น เพียงแต่มีจุดด้อยคือ การขึ้นสนิม แม้จะมีการเคลือบน้ำมันกันสนิมแล้วแต่ก็ต้องระวัง แต่ก็มีวิธีแก้ไขกรณีที่ต้องการใช้ตะแกรงเหล็กฉีก ด้วยการใช้ในพื้นที่มีลักษณะของอากาศต่างจากปกติ เช่น ติดตั้งบริเวณที่อาจโดนการกัดกร่อนของสารเคมี สถานที่มีความชื้นและไอเกลือในอากาศจากน้ำทะเล

2. ตระแกรงอลูมิเนียมฉีก

ตระแกรงอลูมิเนียมมีความทนทานต่อการสัมผัสกับสารเคมีและความชื้น มีความเงางาม ไม่เป็นสนิม มีน้ำหนักเบากว่า มีความแข็งและความเหนียวน้อยกว่าแบบเหล็กและสแตนเลส ทำให้การตัด หรือ ดัดขึ้นรูปทำได้สะดวกขึ้น ในการนำอลูมิเนียมมาทำเป็นตะแกรงอลูมิเนียมฉีกสามารถทำได้ในลวดลายต่าง ๆ เหมือนกับวัสดุอื่นได้เช่นกัน

3. ตะแกรงสแตนเลสฉีก 

วัสดุสแตนเลสสามารถนำมาทำตะแกรงฉีกได้ดี มีความแข็งเทียบเท่ากับเหล็ก แต่มีความเหนียวมากกว่า ทนต่อสารเคมีที่กระทบได้ดีกว่าเหล็ก ด้วยเป็นวัสดุ สแตนเลสทำให้หมดปัญหาเรื่องการเกิดสนิมที่ตะแกรงไปได้เลย ส่วนราคาวัสดุสแตนเลสนั้นมีราคาสูงกว่าตะแกรงที่ผลิตจากวัสดุอื่น ๆ แต่เรื่องการใช้งานมีความคุ้มค่าคุ้มราคาในการลงทุนแน่นอน

นำตะแกรงเหล็กฉีกไปใช้งานอะไรบ้าง

1. ใช้สำหรับปูพื้นทางเดิน ปูพื้นเพื่อให้รถวิ่งได้ 

เป็นที่นิยมเพราะการใช้งานง่ายและสะดวก มีความสวยงาม โดยแนะนำตะแกรงเหล็กฉีกที่มีความหนา 3.2 มม.ขึ้นไป มีช่องตาและความหนา มีความแข็งแรงทนทานและปลอดภัยและเพื่อที่จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ 

2. ใช้สำหรับทำเป็นผนังบังตาหรือรั้ว 

ทำเพื่อสำหรับป้องกันนก หนู และสัตว์ต่าง ๆ แนะนำให้ใช้ตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นที่มีช่องตาเล็กและน้ำหนักเบา ทั้งนี้ตะแกรงเหล็กฉีกยังสามารถทำรายบันได ราวกันตก เนื่องจากมีขนาดความกว้างของช่องตาและขนาดหนาปานกลาง ที่สามารถติดตั้งได้อย่างสวยงาม

3. ใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ 

นำตะแกรงเหล็กฉีกมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ โดยมีลักษณะเด่นคือที่ช่องตาจะเป็นรูปหกเหลี่ยมหรือรังผึ้ง รวมถึง มีความโปร่งโล่ง มีความทนทาน ดูแลง่าย เหมาะกับบ้านสไตล์ลอฟท์

4. ใช้สำหรับงานตกแต่งบ้าน 

ตะแกรงเหล็กฉีกนำมาทำเหล็กดัดประตู หน้าต่าง ลูกกรง ฝ้าเพดาน ราวระเบียง แนะนำใช้ตะแกรงเหล็กฉีกรุ่นที่ผลิตลวดลายของเหล็กฉีกในรูปแบบพิเศษ รุ่นที่มีช่องตารูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดสลับกับรูปหกเหลี่ยมแนวยาว เป็นการใช้งานทั้งความแข็งแรงปลอดภัย

5. ใช้สำหรับส่วนประกอบของเครื่องใช้ต่าง ๆ 

เช่นหม้อกรอง ตะกร้าวางสินค้า กระจังหน้ารถ ช่องระบายอากาศ สามารถใช้เหล็กฉีกรุ่นที่มีช่องตาขนาดเล็ก และผลิตจากเหล็กขาวเป็นส่วนประกอบ

https://www.youtube.com/watch?v=tZzePfEyMBY

ตะแกรงเหล็กฉีกควรเก็บอย่างไร

1. ตะแกรงเหล็กต้องเก็บไว้ในที่ร่ม

เนื่องจากเหล็กจะไม่ถูกกับน้ำ หากเหล็กโดนน้ำ น้ำฝนแล้วจะขึ้นสนิมได้รวดเร็ว ถึงแม้ตะแกรงเหล็กฉีกจะผลิตจากเหล็กดำที่ขึ้นสนิมได้ยากกว่าเหล็กขาวก็ตาม ควรเก็บตะแกรงเหล็กฉีกไว้ในที่ร่ม ไม่มีรอยรั่ว 

2. ให้ชโลมน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วบนตะแกรงเหล็กฉีกให้ทั่วทั้งแผ่น

เพื่อการเก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น

3. วางตะแกรงเหล็กฉีกบนพาเลทให้สูงจากพื้น

เพื่อป้องกันน้ำที่อาจไหลมาตามพื้น และเพื่อทำให้ได้รับความชื้นที่ระเหยจากพื้นขึ้นมาน้อยลง

4. คลุมตะแกรงเหล็กฉีกด้วยผ้าใบอย่างดี

เพื่อกันความชื้นได้ แต่ให้ระวังบริเวณพื้นที่ตะแกรงเหล็กฉีกตั้งอยู่มีน้ำนองและความชื้นสูง ผ้าใบที่คลุมจะเป็นการอบความชื้นไว้กับตะแกรงเหล็กฉีกแทน

สำหรับใครที่กำลังต้องการตะแกรงเหล็กฉีกไว้ใช้งาน แต่ยังไม่รู้ว่าตะแกรงเหล็กฉีก ราคาตารางเมตรละ สามารถสอบถามกับเฮียเชษฐได้ที่ Line@hiachet. โทรศัพท์ 091-705-5679, 095-371-7399. เฮียเชษฐ นำเสนอราคาดีที่สุด ด้วยประสบการณ์การเป็นผู้รับเหมาที่ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชื่อดังมากมาย สามารถนำเสนอสินค้าวัสดุก่อสร้างของแท้จากแบรนด์ในราคาพิเศษ ส่วนลดเริ่มต้นที่ 10% เพื่อช่วยให้ท่านประหยัดงบประมาณของผู้รับเหมา

หากท่านกำลังมองหาวัสดุสำหรับก่อสร้าง ตกแต่งภายใน วัสดุที่มีคุณภาพ หรือต้องการสอบถามตะแกรงเหล็กฉีกราคาตารางเมตรละเท่าไหร่ สามารถติดต่อเราเฮียเชษฐ https://royalpeninsula-hotel.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง.

คำถามที่พบบ่อย FAQ

สายด่วนฝ่ายขาย ติดต่อทีมงาน