ถ้าเปรียบว่าหลังคานั้นเป็นเหมือนสิ่งใด คำตอบก็คือ “มงกุฎของบ้าน” เราจึงต้องใส่ใจกับการเลือกกระเบื้องหลังคาที่ทำให้บ้านดูดีเสมอ ซึ่งนอกจากจะถูกใจเจ้าของบ้านแล้ว ควรมีรูปทรง รูปแบบ และสีสัน เข้ากับสไตล์บ้านด้วย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์ประกอบที่โดดเด่นอย่างกระเบื้องหลังคา มีผลต่อหน้าตาของบ้านอย่างมาก การเลือกกระเบื้องหลังคาที่ทำให้บ้านดูดี เข้ากับสไตล์บ้านจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นใครที่คิดว่ากระเบื้องหลังคาแบบไหนก็คลุมแดดคลุมฝนได้เหมือนกัน แนะนำให้เปลี่ยนความคิดแล้วหันมาสนใจกับรูปทรง รูปแบบ และสีของกระเบื้องหลังคา ให้ดูเข้ากับสไตล์บ้านกันสักหน่อยดีกว่า ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะเรามีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยเจ้าของบ้านเลือกกระเบื้องหลังคาให้เหมาะสไตล์บ้านของคุณมาฝากกัน
ประเภทของกระเบื้องหลังคา
ก่อนที่จะพาคุณไปเลือกกระเบื้องหลังคา ทราบหรือไม่ว่ากระเบื้องหลังคามีกี่แบบ พร้อมแล้วมาดูกันเลย
1. กระเบื้องหลังคาคอนกรีต
กระเบื้องหลังคาคอนกรีต หรือกระเบื้องซีเมนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือกระเบื้องหลังคาลอน เหมาะกับบ้านสไตล์ร่วมสมัย อบอุ่นเป็นธรรมชาติ และ กระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือบ้านสไตล์ร่วมสมัยที่มีกลิ่นอายโมเดิร์น
ข้อดีของกระเบื้องหลังคาคอนกรีต
หลังคาคอนกรีตทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ฝน แดด หรือมรสุม อีกทั้งยังมีอัตราการรั่วซึมที่ต่ำเนื่องจากเนื้อกระเบื้องคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงทำให้น้ำไม่ซึมผ่าน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเสื่อมสภาพ ติดตั้งก็ง่าย และมีให้เลือกซื้อหลายสี สวยงามและคุ้มราคาด้วย
2. กระเบื้องดินเผา
กระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่สวยงามเป็นธรรมชาติ กระเบื้องที่มีคุณสมบัติลดการสะสมฝุ่นได้ดี เพราะน้ำฝนจะช่วยชะล้างความสกปรกได้ และเนื่องจากผ่านการเผาด้วยอุณหภูมิสูง ทำให้แข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบากว่ากระเบื้องคอนกรีต โดยกระเบื้องชนิดนี้มักมีลักษณะเป็นลอยโค้งสูงเป็น กระเบื้องหลังคากันความร้อนเหมาะกับบ้านสไตล์ตะวันตกที่มีกลิ่นอายแบบเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีข้อเสีย คือ อาจเกิดการรั่วซึมได้ง่าย
3. กระเบื้องหลังคาเซรามิก
กระเบื้องหลังคาเซรามิก เป็นกระเบื้องหลังคาที่นำดินชนิดพิเศษมาอัดขึ้นรูป เคลือบสี และเผาด้วยอุณหภูมิสูง โดยเนื้อกระเบื้องส่วนใหญ่มักมีสีอ่อน มีให้เลือกทั้งแบบผิวมันเงาและกึ่งเงา เหมาะสำหรับบ้านสไตล์คลาสสิกและสไตล์คอนเทมโพรารี โดยควรเลือกรูปแบบแผ่นให้เหมาะกับตัวบ้าน
4. กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน
กระเบื้องซีเมนต์ใยหินหรือกระเบื้องเอสเบสทอสซีเมนต์ ผลิตจากวัสดุ 3 ชนิด ได้แก่ ใยหินสำลี ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และน้ำ แล้วเทลงในแบบหล่อ จากนั้นนำลูกกลิ้งมาบดขึ้นรูปให้เป็นลอนตามต้องการ มักมาในลักษณะกระเบื้องลอนคู่ มีให้เลือกทั้งลอนเล็กและลอนใหญ่ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ป้องกันความร้อนได้ดี รวมถึงกันไฟได้ เหมาะสำหรับมุงหลังคาตั้งแต่ 10 องศา ที่สำคัญราคาไม่แพง
5. กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์
หลังคากระเบื้องลอนคู่ คือ หลังคาที่ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ คุณสมบัติของกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ คือ การสะสมความร้อนต่ำ ตัววัสดุมีความยืดหยุ่นและมีความเหนียว ดังนั้นจึงทำให้กระเบื้องหลังคาประเภทนี้มีความบาง และน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา และเนื่องจากการเป็นกระเบื้องหลังคาแบบลอนคู่ และกระเบื้องหลังคาขนาด 1.20 – 1.80 ม. จึงทำให้ประหยัดจำนวนกระเบื้อง รวมถึงโครงสร้างรับหลังคาด้วย
เลือกกระเบื้องหลังคาแบบไหนดีให้เหมาะกับบ้าน?
ไม่ว่าจะเลือกกระเบื้องหลังคาบ้านแบบไหนดี ก็ควรเลือกให้เหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทยที่ร้อนระอุ การสร้างบ้านที่เน้นความโปร่งโล่ง มีลมพัดเข้าออก อากาศถ่ายเทได้สะดวก จึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ อีกทั้งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่บรรเทาความร้อนภายในบ้านได้ดีเช่นกัน ซึ่งมีหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ดังนี้
1. หลังคาทรงจั่ว
เน้นรูปทรงเรียบง่าย โดยอาจใช้ลูกเล่นของผืนหลังคาล้อตามรูปทรงของบ้านให้ดูโดดเด่น กระเบื้องหลังคาที่เหมาะกับหลังคาประเภทนี้คือ แบบแผ่นลอนและแบบแผ่นเรียบ
2. หลังคาบ้านสไตล์คลาสสิก
เน้นความโอ่โถงยิ่งใหญ่ของตัวบ้าน พร้อมพื้นที่ภายในบ้านที่ดูสูงโปร่ง นิยมใช้หลังคารูปทรงจั่วหรือปั้นหยา กับกระเบื้องหลังคาเซรามิกแบบลอน บางบ้านมีหลังคาทรงโดม ขับความหรูหราโอ่โถงแบบตะวันตกที่ดูเข้ากันกับรูปทรงโค้งของซุ้มประตูและซุ้มระหว่างเสาต่าง ๆ นับเป็นองค์ประกอบที่ใช้กันมากสำหรับบ้านสไตล์คลาสสิก
3. หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล
สไตล์นี้นิยมใช้หลังคารูปทรงจั่ว ส่วนวัสดุมุงที่นิยมจะเป็น “กระเบื้องหลังคาทรงว่าว” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “กระเบื้องว่าว” เมื่อนำมามุงหลังคา จะเห็นการเรียงตัวของกระเบื้องทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดอย่างเป็นระเบียบในแนวเส้นทแยงมุม นับเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมรูปแบบสไตล์โคโลเนียลได้เป็นอย่างดี
4. หลังคาบ้านสไตล์ไทยประยุกต์
ดูคล้ายการผสมผสานรูปทรงจั่วกับปั้นหยาเข้าด้วยกัน กระเบื้องหลังคาที่แนะนำก็จะเป็นกระเบื้องแบบแผ่นเรียบทรงสี่เหลี่ยม แต่ถ้าต้องการถ่ายทอดเอกลักษณ์อันประณีตอบอุ่นแบบบ้านไทย ๆ มากขึ้น ก็อาจเสริมองค์ประกอบเพิ่มเติม เช่น การตกแต่งยอดจั่ว ใส่ไม้ค้ำยัน มุงหลังคาด้วยกระเบื้องว่าวทรงข้าวหลามตัด เป็นต้น
5. หลังคาบ้านสไตล์เนเชอรัล
นิยมใช้หลังคารูปทรงธรรมดาอย่างทรงจั่ว ปั้นหยา ในโทนสีน้ำตาล หากต้องการกลิ่นอายธรรมชาติที่ดูอบอุ่น น่าอยู่ แบบบ้านกลางป่านิด ๆ อาจเลือกใช้กระเบื้องหลังคาไม้แป้นเกล็ด หรือวัสดุที่ทำลวดลายเลียนแบบลายไม้ ให้อารมณ์ใกล้เคียงธรรมชาติ
หากท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้สนใจวัสดุกระเบื้องหลังคา เฮียเชษฐร้านขายวัสดุก่อสร้าง ของผู้รับเหมา โดยผู้รับเหมา เพื่อผู้รับเหมา ด้วยสินค้าราคาถูก คุณภาพมาตรฐานพร้อมให้บริการคุณ
นอกจากนี้หากหลังคาบ้านของคุณมีอายุการใช้งานนานกว่า 15 – 20 ปีแล้ว ให้เปลี่ยนหลังคาใหม่ได้เลยทันที เพราะหลังคาอาจเก่าเกินกำลังที่ซ่อมแซมได้แล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนหลังคาใหม่นอกจากจะช่วยให้บ้านของคุณดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องบ้านของคุณจากสภาพอากาศต่าง ๆ ได้ด้วย
หลังจากทราบวิธีตรวจเช็กหลังคาแล้ว อย่าลืมไปสังเกตหลังคาบ้านของคุณกันด้วย หากต้องการคำปรึกษาเรื่องกระเบื้องหลังคา หรือต้องการเปลี่ยนหลังคามาปรึกษากับเฮียเชษฐได้เลย ที่นี่ทางเฮียเชษฐเองก็จัดจำหน่ายกระเบื้องหลังคาหลายรายการ มีให้เลือกหลายแบบ แถมยังมีบริการจัดส่งทั่วประเทศทั่วไทย รวดเร็วทันใจอีกด้วย
คำถามที่พบบ่อย FAQ
สำหรับหลังคาบ้านแตกต่างออกไปหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น หลังคาไม้ซีดาร์ กระเบื้อง คอนกรีต เมทัลชีท หรืออื่น ๆ แต่ละแบบมีระยะอายุการใช้งานไม่เหมือนกัน
ถ้าหากเป็นหลังคาไม้ไม่ว่าจะเป็นไม้อะไรก็ตาม มีระยะการใช้งานสูงสุดประมาณ 10-15 ปี หากเป็นกระเบื้องหลังคา จะมีอายุการใช้งานค่อนข้างนานถึง 20 ปีเลยทีเดียว แต่อาจต้องหมั่นตรวจสอบรอยแตกร้าวกันสักหน่อย
วิธีคำนวณจำนวนกระเบื้องหลังคากี่แผ่นต่อตารางเมตร สำหรับมุงหลังคาอย่างง่าย โดยคิดพื้นที่ของหลังคาออกมาเป็นตารางเมตร สำหรับนำไปคุยกับช่างและเตรียมงบประมาณได้ถูกต้อง และจะได้ทราบว่าต้องเตรียมงบประมาณเอาไว้เท่าไรกัน สามารถทำได้โดยจะใช้สูตรการหาพื้นที่ 3 สูตร
สูตรการหาพื้นที่สี่เหลี่ยม
ให้นำด้านยาวและด้านกว้างของสี่เหลี่ยมมาคูณกันตามสูตร = กว้าง x ยาว
สูตรการหาพื้นที่สามเหลี่ยมด้านเท่า
ให้นำความสูงของสามเหลี่ยมคูณด้วยฐานหรือด้านยาวแล้วหารสอง= ½(ความสูง x ฐาน) = ½(ความสูง x ด้านยาว= ½(X x Y)
สูตรการหาพื้นที่สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า
เริ่มด้วยการหาค่า S เพื่อใช้ในการคำนวณเสียก่อน โดยที่ค่า S นั้นจะมาจากการนำความยาวด้านทุกด้านของสามเหลี่ยมมาบวกกันแล้วหารสอง
ค่า S สำหรับคำนวณ พื้นที่ △ ด้านไม่เท่า =½(AxBxC) จากนั้นเมื่อได้ ค่า S มาแล้ว ให้นำเข้าสูตรหาพื้นที่ △ ด้านไม่เท่า ดังนี้
พื้นที่ △ ด้านไม่เท่า = √(s(S-A)(S-B)(S-C)