สำหรับงานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นก่อสร้างงานทั่วไป งานขึ้นรูป หรือก่อสร้างโครงสร้างขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน รูปแบบเหล็กเส้นอย่าง เหล็กข้ออ้อย กับ เหล็กเส้น ขนาดต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัสดุที่สำคัญอย่างมากที่ใช้สำหรับเสริมความแข็งแกร่งให้แก่โครงสร้างซึ่งเป็นวัสดุที่ต้องใช้รับแรงทั้งงานคอนกรีตและงานก่ออิฐ และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเหล็กข้ออ้อยกันว่ามีขนาดไหนบ้าง เลื่อนลงไปอ่านพร้อมๆ กันเลย
เหล็กข้ออ้อย คืออะไร
เหล็กข้ออ้อย หรือที่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า DB ยังมีชื่อเรียกอีกหลากหลาย เช่น เหล็กอ้อย เหล็กบั้ง เหล็กข้อ โดยเหล็กข้ออ้อยจัดอยู่ในประเภทของเหล็กเส้น มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ คล้ายอ้อย มีครีบและบั้งที่ผิวเหล็ก ซึ่งหน้าที่ของครีบและบั้งคือ ช่วยให้เหล็กยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี ทำให้โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรง เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนมากมักจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น คาน เสา สะพาน เขื่อน บ้าน อาคาร และงานก่อสร้างที่มีแรงอัดมาก ๆ เป็นต้น
จุดสังเกตลักษณะที่ดีของเหล็กข้ออ้อยอยู่ที่พื้นผิวของเหล็ก โดยผิวควรจะเรียบ ไม่ขรุขระ ยกเว้นบริเวณที่เป็นบั้ง ไม่มีรอยปริแตก ระยะของบั้งต้องสม่ำเสมอเท่ากันตลอดเส้น มีขนาดและรูปร่างที่เหมือนกัน ที่สำคัญเนื้อเหล็กต้องไม่เป็นสนิม
เหล็กข้ออ้อยมีกี่ขนาดประเภทของเหล็กข้ออ้อยโดยแบ่งตามชั้นคุณภาพ
โดยเหล็กข้ออ้อยจะมีหลายขนาดและหลายความสามารถในการรับแรง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้
เหล็กข้ออ้อย มาตรฐาน มอก. 24-2548 เป็นเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กข้ออ้อย ขนาดยู่ที่ 10 – 32 มม. และมีความยาวมาตรฐาน 10 เมตร และ 12 เมตร, ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 มม. ถึง 40 มม. ความยาว 10 และ 12 เมตร มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ
- เหล็กข้ออ้อยSD30 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
- เหล็กข้ออ้อย sd40 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
- เหล็กข้ออ้อย SD40T คือ เหล็กที่มีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร มีธาตุผสมที่น้อยกว่า จึงเป็นตัวที่ส่งผลให้สามารถเชื่อมต่อเหล็กข้ออ้อยได้ง่ายกว่าเหล็กข้ออ้อยธรรมดานั่นเอง
ขนาดและน้ำหนัก เหล็กข้ออ้อย
เหล็กข้ออ้อยมีความยาว ขนาด และน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามการผลิต ได้แก่
เหล็กข้ออ้อยความยาว 10 ม.
ขนาด 10 มม. | น้ำหนัก 6. 16 กก |
ขนาด 12 มม. | น้ำหนัก 8.88 กก. |
ขนาด 16 มม. | น้ำหนัก 15.78 กก. |
ขนาด 20 มม. | น้ำหนัก 24.66 กก |
ขนาด 25 มม. | น้ำหนัก 38.53 กก. |
ขนาด 28 มม. | น้ำหนัก 48.34 กก. |
ขนาด 32 มม. | น้ำหนัก 63.13 กก. |
เหล็กข้ออ้อยความยาว 12 ม.
ขนาด 10 มม. | น้ำหนัก 7.404 กก. |
ขนาด 12มม. | น้ำหนัก 10.656 กก |
ขนาด 16 มม. | น้ำหนัก 18.936 กก. |
ขนาด 20 มม. | น้ำหนัก 29.592 กก. |
ขนาด 25 มม. | น้ำหนัก 46.236 กก |
ขนาด 28 มม. | น้ำหนัก 58.008 กก. |
ขนาด 32 มม. | น้ำหนัก 73.756 กก. |
เหล็กข้ออ้อย มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ของเหล็กข้ออ้อยก็คือ เป็นเหล็กที่ใช้ในเพื่อเป็นโครงสร้างการก่อสร้างโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก และรองรับน้ำหนักซึ่งในการก่อสร้างแต่ละครั้งยังต้องมีการใช้งานควบคู่กับเหล็กเส้นกลมด้วย โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวิศวกรประจำโครงการ แต่ส่วนมากจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลัก เพราะเหล็กข้ออ้อยมีคุณสมบัติรับแรงได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม และเป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น เขื่อน, สะพาน หรืองานก่อสร้างใด ๆ ที่ต้องรับแรงอัดมาก ๆ และตึกที่มีความสูงมาก
เหล็กข้ออ้อยที่คนไทยนิยมมาใช้งานมากที่สุด
สำหรับเหล็กข้ออ้อยนั้นก็มีหลายขนาดด้วยกัน แต่สำหรับขนาดของเหล็กที่ช่างไทยหรือผู้รับเหมาไทยนิยมใช้ที่สุดก็คือ เหล็กข้ออ้อย 4 หุน โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ไล่ไปจนถึงขนาด 4 หุนอ้อยโรงใหญ่เลยทีเดียว ตามแต่เนื้องานที่เหมาะสมว่าจะต้องใช้เหล็กขนาดเท่าไร ทั้งนี้ก็มีเหล็กทั้งแบบงอและแบบเส้นตรง ถ้าใช้เส้นตรงแนะนำให้สั่งจากโรงงานหรือสั่งจากร้านวัสดุก่อสร้าง การเลือกใช้เหล็กข้ออ้อยเส้นตรงก็เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเอาเหล็กเส้นที่งอหรือพับแล้วมาดัดให้เหล็กตรงอีกด้วย ซึ่งจะประหยัดทั้งแรงงานใช้จ่ายจนถึงเวลาอีกด้วย
ราคาเหล็กข้ออ้อย
สำหรับใครที่ต้องการใช้เหล็กข้ออ้อย ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ที่ร้านเฮียเชษฐก็มีหลายขนาดให้เลือกด้วยกัน สำหรับราคานั้นก็ไม่สูงมาก ดังนี้
ราคาเหล็กข้ออ้อยขนาดต่างๆ
ขนาดเหล็กข้ออ้อย | น้ำหนัก (กก.) | ราคาต่อเส้นก่อน VAT |
10 มม. x 10 ม. SD 40 | 6.16 | 147.00 |
10 มม. x 12 ม. SD 40 | 7.39 | 176.40 |
12 มม. x 10 ม. SD 40 | 8.88 | 207.38 |
12 มม. x 12 ม. SD 40 | 10.66 | 248.85 |
16 มม. x 10 ม. SD 40 | 15.78 | 365.40 |
16 มม. x 12 ม. SD 40 | 18.94 | 437.85 |
20 มม. x 10 ม. SD 40 | 24.66 | 570.15 |
20 มม. x 12 ม. SD 40 | 29.59 | 684.60 |
25 มม. x 10 ม. SD 40 | 38.53 | 890.40 |
25 มม. x 12 ม. SD 40 | 46.24 | 1,068.90 |
28 มม. x 10 ม. SD 40 | 48.34 | 1,117.20 |
28 มม. x 12 ม. SD 40 | 58.00 | 1,340.85 |
28 มม. x 10 ม. SD 50 | 48.34 | 1,131.90 |
28 มม. x 12 ม. SD 50 | 58.00 | 1,358.70 |
32 มม. x 10 ม. SD 50 | 63.13 | 1,478.40 |
32 มม. x 12 ม. SD 50 | 75.75 | 1,774.50 |
ลวดผูกเหล็ก # 18 | 3.00 | 109.20 |
25 มม. x 10 ม. SD 40 | 38.53 | 890.40 |
และนี่คือเรื่องราวของเหล็กข้ออ้อยหรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า DB เหล็กที่ใช้สำหรับเสริมโครงสร้างต่าง ๆ ในการก่อสร้าง และหากคุณกำลังมองหาหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเหล็กข้ออ้อย สามารถขอคำปรึกษาและคำแนะนำกับเฮียเชษฐได้เลยที่ Line OA : @hiachet สามารถให้คำตอบที่ตอบโจทย์คุณลูกค้าได้เสมอ เราพร้อมที่จะดูแลคุณโดยทีมงานมากประสบการณ์ เพื่อช่วยคุณลูกค้าประหยัดเงินในกระเป๋า ชิ้นงานของลูกค้าสมบูรณ์สวยงาม ทนทานใช้งานได้นานปี
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
เหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นเหล็กที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายส่งอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป ซึ่งราคาก็อาจจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ร้านและพื้นที่ แต่หากต้องการซื้อเป็นจำนวนมาก แนะนำให้ซื้อกับร้านขายส่ง เพราะจะได้ราคาที่ถูกกว่า ซึ่งที่ร้าน เฮียเชษฐเองก็มีจำหน่ายะมีบริการจัดส่งถึงบ้าน ถึงหน้าไซต์งาน บริการรวดเร็ว ราคามิตรภาพ
เหล็กเส้นข้ออ้อย มีมาตรฐานที่เป็นจุดเด่นคือเป็นเหล็กเส้นที่มีขนาดเส้นกลมกลึงเท่ากัน ไม่มีสนิมกินและผิวภายนอกเป็นริ้วข้อๆ คล้ายลำอ้อย หรือเป็นคลื่นเสมอกัน