หลายคนมักเจอปัญหาว่า อยากซื้อกระเบื้องปูพื้นสำหรับบ้าน แต่ไม่รู้จะเลือกซื้อกระเบื้องแบบไหนดีให้เหมาะกับการใช้งาน แล้วควรค่ากระเบื้องแบบไหน ถึงจะเลือกซื้อได้เหมาะสมกับการใช้งาน วันนี้ Hiachetรวบรวมกระเบื้องแต่ละแบบมาให้คุณได้รู้จัก และเช็กราคากระเบื้องแต่ละแบบก่อนซื้อ
สำหรับเฮียเชษฐเรามีสินค้ากระเบื้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องปูพื้น, กระเบื้องยาง, กระเบื้องแกรนิตโต้ ให้ได้เลือกสรรค์มากมายพร้อมจัดส่งถึงหน้าไซต์งาน
กระเบื้องปูพื้นมีกี่แบบ
ก่อนจะเลือกซื้อกระเบื้องปูพื้นสำหรับบ้านอาคาร เริ่มแรกคุณควรรู้จักชนิดของกระเบื้องปูพื้นแต่ละแบบที่วางขายกันในท้องตลาดก่อน ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นจุดเด่นและเลือกซื้อกระเบื้องปูพื้นได้เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้นและกระเบื้องปูพื้นที่วางขายกันในท้องตลาดมี 8 แบบ ดังนี้
1. กระเบื้องเซรามิค
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นและปูผนัง มีหลากหลายสีและลวดลายให้เลือก กระเบื้องเซรามิคไม่เหมาะกับการปูพื้นในห้องน้ำ เพราะว่าเนื้อกระเบื้องจะมีความลื่นหากโดนน้ำ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเช็คค่าความลื่นได้จากค่ากันลื่นหรือค่า R (SLIP RESISTANCE RATING) ราคากระเบื้องเซรามิคทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 57 – 325บาท
2. กระเบื้องดินเผา
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นนอกบ้าน พื้นผิวของกระเบื้องมีความหยาบ ด้านและไม่ค่อยลื่น กระเบื้องดินเผามีคุณสมบัติเก็บความชื่นได้ดี ไม่อมความร้อน ทำให้พื้นบ้านเย็นขึ้น ข้อเสียของกระเบื้องชนิดนี้ คือ ทำความสะอาดยาก ไม่ค่อยทนทานผุกร่อนง่าย กระเบื้องดินเผามีพื้นผิวสัมผัสคล้ายหิน ความทนทานต่ำ ทำให้แตกหักได้ง่าย ราคากระเบื้องดินเผาทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 10 – 150 บาท
3. กระเบื้องพอร์ซเลน
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นและปูผนัง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายกับหินอ่อน เป็นกระเบื้องที่มีส่วนผสมของดินขาวและแร่ธาตุอื่นๆ ข้อดีของกระเบื้องพอร์ซเลน คือมีความแข็งแรง ไม่แตกง่าย ทนทานต่อการขีดข่วนและทำความสะอาดง่าย มีพื้นผิวสัมผัสที่คล้ายกับหิน การเลือกใช้กระเบื้องพอร์ซเลนในงานปูพื้นบ้านและปูผนังบ้านจะต้องใช้ทักษะของช่างสูงมาก เนื่องจากตัวกระเบื้องมีขนาดใหญ่กว่าไซส์กระเบื้องทั่วไปและจะต้องตัดมาใช้ในงานสร้างบ้าน ราคากระเบื้องพอร์ซเลนทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 80 – 700 บาท
4. กระเบื้องโมเสค
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นและปูผนัง มีลักษณะเป็นกระเบื้องชิ้นเล็กๆ เนื้อกระเบื้องมีความเป็นหิน คุณสมบัติของกระเบื้องโมเสค คือช่วยระบายน้ำได้ดี มีความแข็งแรงทนทาน มีอัตราการดูดซึมน้ำได้ต่ำ นิยมใช้ปูพื้นสระว่ายน้ำเฉพาะจุด กระเบื้องโมเสก ไม่เหมาะที่จะนำไปปูพื้นบริเวณกว้าง เพราะอาจต้องใช้กระเบื้องปริมาณมากและมีค่าใช้จ่ายสูง ราคากระเบื้องโมเสคทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 30 – 600 บาท
5. กระเบื้องแก้ว
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูผนัง เป็นกระเบื้องโปร่งแสงและมีเนื้อมันวาว กระเบื้องแก้วใช้ปูผนังมักใช้ในงานตกแต่ง งานปูพื้นกระเบื้องที่มีพื้นที่แคบ หรือปูผนังกระเบื้องเพื่อเก็บขอบกระเบื้องที่คมหรือใช้เก็บขอบตามมุมห้อง กระเบื้องแก้วจะแตกหักได้ง่ายและรับน้ำหนักได้น้อย จึงเหมาะสำหรับงานปูผนังบ้านมากกว่า ราคากระเบื้องแก้วทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 22 – 400 บาท
6.กระเบื้องหินอ่อน
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นและปูผนัง มีส่วนผสมของหินอ่อน เป็นกระเบื้องที่มีความเย็นในตัวและมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน ข้อเสียของกระเบื้องชนิดนี้คือ เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย ราคากระเบื้องหินอ่อนเริ่มต้นอยู่ที่ 358 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของงานปูพื้นบ้าน)
7. กระเบื้องยางลายไม้
กระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นและตกแต่งบ้าน เป็นวัสดุที่ใช้แทนไม้มักผลิตมากจากยาง แต่ทำลวดลายคล้ายกับไม้จริง มีเนื้อสัมผัสที่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ผิวด้าน ผิวมัน ผิวหยาบ นิยมใช้ในงานปูพื้นกระเบื้องสำหรับบ้าน ช่วยตกแต่งเพิ่มบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่นขึ้น บางยี่ห้อมีคุณสมบัติพิเศษที่มักจะผ่านเคลือบสารป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียมาแล้ว ราคายางลายไม้ทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 35 – 400 บาท
8. กระเบื้องแกรนิต
กระเบื้องสำหรับปูพื้น ทำมาจากหินแกรนิตธรรมชาติ มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบา ทนทานต่อรอยขีดขวนและรับน้ำหนักได้มาก มีค่าดูดซึมน้ำต่ำ ทำให้พื้นผิวกันลื่นได้ กระเบื้องแกรนิคนิยมใช้ในการปูพื้นภายในบ้านและอาคารทั่วไป กระเบื้องมีความทนทาน แตกหักได้ยาก ราคากระเบื้องแกรนิตทั่วไปอยู่ที่แผ่นละ 65 – 700 บาท
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อกระเบื้อง นอกจากลวดลายที่สวยงามแล้ว ควรคำนึงถึงความเหมาะสมของชนิดกระเบื้องและการใช้งานด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตัดสินใจซื้อกระเบื้องสำหรับปูพื้น แนะนำให้เลือกซื้อโดยดูจาก SLIP RESISTANCE RATING คือ ค่ากันความลื่น หรือที่หลายคนเรียกว่า ค่า R กันลื่น เป็นค่าที่บ่งบอกความลื่นของพื้นผิวกระเบื้องและความเหมาะสมในการใช้งาน อ่านต่อ
หากคุณกำลังมองหากระเบื้องสำหรับงานปูพื้นบ้านและอยากคำนวณราคาก่อนซื้อที่คุ้มค่าก่อนซื้อ แนะนำให้คุณคำนวณพื้นที่ห้องที่จะใช้ปูกระเบื้องก่อนและเช็คปริมาณจำนวนกระเบื้องที่จะใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถประเมินงบประมาณของงานปูพื้นกระเบื้องได้เบื้องต้น เช็กราคาและขนาดกระเบื้องสำหรับปูพื้นบ้านได้ที่นี่
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกระเบื้องปูพื้น ก่อนซื้อได้ที่นี่ คลิก