ทำความรู้จักท่อร้อยสายไฟ

Table of Contents

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการก่อสร้างหรือการเก็บงานต่างๆ นั้น สิ่งสำคัญที่ทุกบ้านจะต้องมีก็คือท่อร้อยสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นสายไฟที่ฝังลงในผนังหรือเดินสายลอย สาเหตุสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีท่อสายไฟก็เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเกิดความเสียหาย ซ่อนสายไฟฟ้าไม่ให้เกะกะหรือรก รวมไปถึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้กรณีที่ไฟลัดวงจร เพราะว่าตัวประกายไฟนั้นจะถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะภายในท่ออย่างเดียว ไม่ทำให้ออกมาติดกับสิ่งของภายนอกท่อได้อีกด้วย

ท่อร้อยสายไฟ คืออะไร

ท่อร้อยสายไฟคือท่อที่ใช้ในการจัดระเบียบระบบการเดินสายไฟ ช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟสัมผัสกับน้ำหรือแดด และช่วยลดอุบัติเหตุจากกรณีไฟรั่วหรือไฟดูด ท่อร้อยสายไฟมีทั้งเป็นเป็นพลาสติก PVC ที่เรามักจะเห็นเป็นสีเหลืองหรือสีขาว และแบบที่เป็นเหล็ก ท่อร้อยสายไฟยังช่วยป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนู จิ้งจก หรือแมลงต่าง ๆ ที่อาจจะสร้างความเสียหายให้สายไฟได้

ประเภทของท่อร้อยสายไฟ

ท่อร้อยสายไฟมีหลายประเภทให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เนื่องจากท่อสายไฟมีให้เลือกทั้งแบบท่อเหล็กและท่อพลาสติก แต่ละแบบจะสามารถใช้เก็บสายไฟในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

ท่อเหล็ก

สำหรับท่อร้อยสายไฟแบบเหล็ก จะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน นั่นคือท่อเหล็กชนิดบาง, ชนิดหนาปานกลาง และชนิดหนา เนื่องจากท่อเหล็กแต่ละแบบจะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์ท่อสายไฟแบบเหล็กนั้นจะมีให้เลือกตั้งแต่ Panasonic, Arrow Pipe และ Union เป็นต้น

ท่อเหล็กชนิดบาง

ท่อเหล็กชนิดบางหรือ Electrical Metallic Tubing (ท่อ EMT) จะเป็นท่อโลหะขนาดบางและมีตัวอักษรบนท่อเหล็กสีเขียว ใช้สำหรับเดินลอยภายในอาคารหรือฝังในผนังเท่านั้น ไม่สามารถฝังดินหรือฝังในพื้นคอนกรีตได้

ท่อเหล็กชนิดหนาปานกลาง

ท่อเหล็กชนิดหนาปานกลางหรือ Intermediate Conduit (ท่อ IMC) เป็นท่อที่เหมาะสำหรับเดินลอยภายนอกอาคารหรือฝังในผนังและพื้นคอนกรีตได้ ตัวอักษรบนท่อเหล็กจะมีสีแดง/ส้ม

ท่อเหล็กชนิดหนา

ท่อเหล็กชนิดหนาหรือ Rigid Steel Conduit (ท่อ RSC) เป็นท่อร้อยสายไฟที่สามารถใช้เดินลอยภายนอกอาคาร ฝังในผนัง พื้นคอนกรีต และพื้นที่ที่อันตราย รวมไปถึงฝังลงดินโดยตรงได้ ตัวอักษรบนท่อเหล็กจะมีสีดำ

ท่อพลาสติก

สำหรับท่อร้อยสายไฟพลาสติกนั้น จะมีให้เลือกใช้งานทั้งท่อ PVC และท่อ HDPE ซึ่งท่อ PVC มีคุณสมบัติในการทนต่อความชื้น ไม่ขึ้นสนิม มีให้เลือก 2 สีด้วยกัน นั่นคือท่อสีเหลืองและท่อสีขาว มีให้เลือกซื้อทั้งจาก ตราช้าง, ตราเสือ, ท่อน้ำไทย เป็นต้น ส่วนท่อ HDPE จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าท่อ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงมาก สามารถคงรูปเดิมได้โดยไม่ต้องใช้วัตถุแข็งเกร็ง ติดตั้งง่าย มีให้เลือกทั้งท่อจากแบรนด์ TAP, UHM Group และ TGG เป็นต้น

ท่อ PVC สีเหลือง

ท่อ PVC สีเหลือง จะเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ เน้นความเป็นฉนวนไฟฟ้า นิยมใช้ภายในอาคารหรือฝังกำแพง ทนต่อความร้อน ไม่นำไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร ไม่ลามไฟ แต่ไม่ทนต่อรังสียูวี

ท่อ PVC สีขาว

ท่อ PVC สีขาว เป็นท่อที่นิยมใช้ในการเดินท่อลอย ร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ นิยมใช้ในงานต่อเติมหรืองานดีไซน์ สามารถดัดเย็นได้มากกว่า 90 องศา ช่วยในการประหยัดข้อต่อ อีกทั้งยังสามารถทาสีทับได้อย่างง่ายดาย

ท่อ HDPE

ท่อ HDPE เป็นท่อร้อยสายไฟที่มีความอ่อนตัวแต่แข็งแรง สามารถต้านทานความล้าของท่อได้เป็นอย่างดี และรองรับแรงดันได้หลากหลายรูปแบบ สามารถใช้เดินสายภายนอกอาคารฝังผนัง หรือสายใต้ดินได้ ข้อดีคือสามารถดัดโค้งได้ทำให้ถ้าเดินท่อ HDPE ในระยะไกลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟไม่ได้มาตรฐาน

เนื่องจากท่อสายไฟที่ได้มาตรฐาน จะมีรายละเอียดที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าสามารถใช้งานในรูปแบบใดได้บ้าง ถ้าหากเลือกใช้ไม่ตรงกับประเภทของท่อสายไฟ อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ท่อสายไฟเปราะจนแตก ทำให้หนูหรือของมีคมหลุดเข้าไปบาดสายไฟได้
  • หากใช้ท่อสายไฟที่ไม่สามารถใช้งานนอกอาคารได้ แต่นำไปใช้งานนอกอาคาร อาจทำให้ท่อเกิดการกรอบแตก และไม่สามารถป้องกันสายไฟฟ้าภายในนั้นได้อย่างเต็มที่
  • หากใช้ท่อที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร อาจทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วจนช็อตออกมาภายนอกท่อ และทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
  • อาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหรือเปลี่ยนท่อสายไฟใหม่

สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อท่อร้อยสายไฟที่ได้มาตรฐานในราคาที่คุ้มค่า ควรสั่งจากตัวแทนจำหน่ายที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ เพื่อให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐาน ใช้งานได้อย่างยาวนาน เฮียเชษฐ ผู้ให้บริการสินค้าและวัสดุก่อสร้างสำหรับผู้รับเหมาโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ทุกความต้องการในการเลือกซื้อเลือกหาได้อย่างดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ที่เบอร์ 097-234-5734 หรือ LINE ID: @Hiachet (มีเครื่องหมาย @ ด้านหน้า)

สายด่วนฝ่ายขาย ติดต่อทีมงาน